วันอังคารที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

การเก็บเกี่ยวพืชผัก

เป็นจุดเริ่มต้นของภาคหลังการเก็บเกี่ยว การเก็บเกี่ยวพืชผักควรเก็บเมื่ออายุเหมาะสม ตามจุดประสงค์ของการนำไปใช้ประโยชน์ในด้านการบริโภคสด หรือทำผลิตภัณฑ์พราะจะทำให้ผลผลิตมีคุณภาพ คุณค่าทางอาหาร รสชาติ ลักษณะรูปร่าง สีสัน ความสดสูงสุดการเก็บเกี่ยวพืชผักที่ถูกต้องควรทยอยเก็บตลอดฤดูปลูกจะให้ผลดีมากกว่าการเก็บเกี่ยวให้หมดในคราวเดียว แต่อย่างไรก็ตามกสิกรที่ปลูกพืชผักเป็นรค่านิยมการเก็บเกี่ยว
และขนาดที่กำหนดไว้ อย่าปล่อยให้แก่จนฟ่ามหรือมีเสี้ยน และต้องไม่ขุดให้เกิดแผลหรือรอยช้ำ
พืชผักพวกลำต้นใต้ดิน เช่น มันฝรั่ง เผือก ควรปล่อยให้ใบแห้งก่อนเก็บเกี่ยว เพื่อให้มีเปอร์เซนต์ความชื้นต่ำ การใช้เครื่องทุ่นแรงเก็บเกี่ยวผลผลิต ต้องระวังปัญหาการถูกทำลายของหัว
พืชผักกินใบและกินต้น เช่น ผักกาดหรือกะหล่ำต่างๆ เก็บเกี่ยวเมื่อต้นเจริญได้คุณภาพเต็มที่โดยใช้มีดคมๆ ตัดให้ถึงโคนใกล้ชิดรากมากที่สุด และควรเก็บเกี่ยวให้เสร็จภายในครั้งเดียว การเก็บเกี่ยวในตอนเช้าตรู่ต้องกระทำด้วยความระมัดระวัง เพราะจะเกิดปัญหาการเปราะหักของใบ และจะเป็นผลทำให้เกิดโรคเน่าระบาดอย่างรวดเร็ว รอยแผลตัดควรทาสารป้องกันเข้าทำลายของเชื้อจุลินทรีย์ เช่น ปูนแดง บอแรก คลอรอก และยาฆ่าเชื้อต่างๆ
พืชผักพวกหอม กระเทียม เก็บเกี่ยวเมื่อโคนต้น (Core) แห้งหรือปลายใบโค้งงอลง โดยทำการขุดขึ้นมาทั้งต้นแล้วทิ้งไว้ในแปลง 1 - 2 สัปดาห์ เพื่อให้ต้นและหัวแห้ง ก่อนที่จะทำการเก็บรักษา
พืชผักกินได้ เช่น บร็อคโคลี และกะหล่ำดอก เก็บเกี่ยวเมื่อดอกอัดแน่นและขยายใหญ่เต็มที่โดยตัดที่โคนต้นให้มีใบติดมาด้วย 3 - 4 ใบ เพื่อใช้ห่อดอก ป้องกันการถูกกระทบกระแทกในขณะขนส่ง การใช้แผ่นพลาสติกห่อห ุ ้มหัว แต่ละหัวจะลดปัญหาการสูญเสียได้
พืชผักกินผลและเมล็ด เช่น ข้าวโพดหวาน ถั่วต่างๆ แตงต่างๆ ควรเก็บในตอนเช้า จะทำให้เปอร์เซนต์น้ำตาลสูงกว่าการเก็บในตอนบ่าย และเก็บโดยใช้มีดตัดโดยระมัดระวัง อย่าให้ผลผลิตตกลงพื้นดินในระหว่างเก็บเกี่ยว เพียงครั้งเดียว ทั้งนี้เพื่อเป็นการประหยัดพลังงาน และใช้ที่ดินให้ใด้ประชน์ค้มค่าที่สุด การรักษาคุณภาพพืชผักให้ดีนั้น ควรมีความระมัดระวังระหว่างการเก็บเกี่ยว เพราะการเก็บเกี่ยวที่ไม่ถูกวิธี จะทำให้เกิดความสูญเสียแก่ผลผลิตและคุณภาพใด้การมีความรู้เกี่ยวกับการเก็บเกี่ยวถูกวิธี จะช่วยลดปัญหาดังกล่าวได้ โดยมีหลักดังนี้

1.พืชผักกินราก เช่น ผักกาดหัว มันเทศ แครอท บีท ต้องเก็บเกี่ยวตามอา
และขนาดที่กำหนดไว้ อย่าปล่อยให้แก่จนฟ่ามหรือมีเสี้ยน และต้องไม่ขุดให้เกิดแผลหรือรอยช้ำ
2.พืชผักพวกลำต้นใต้ดิน เช่น มันฝรั่ง เผือก ควรปล่อยให้ใบแห้งก่อนเก็บเกี่ยว เพื่อให้มีเปอร์เซนต์ความชื้นต่ำ การใช้เครื่องทุ่นแรงเก็บเกี่ยวผลผลิต ต้องระวังปัญหาการถูกทำลายของหัว
3.พืชผักกินใบและกินต้น เช่น ผักกาดหรือกะหล่ำต่างๆ เก็บเกี่ยวเมื่อต้นเจริญได้คุณภาพเต็มที่โดยใช้มีดคมๆ ตัดให้ถึงโคนใกล้ชิดรากมากที่สุด และควรเก็บเกี่ยวให้เสร็จภายในครั้งเดียว การเก็บเกี่ยวในตอนเช้าตรู่ต้องกระทำด้วยความระมัดระวัง เพราะจะเกิดปัญหาการเปราะหักของใบ และจะเป็นผลทำให้เกิดโรคเน่าระบาดอย่างรวดเร็ว รอยแผลตัดควรทาสารป้องกันเข้าทำลายของเชื้อจุลินทรีย์ เช่น ปูนแดง บอแรก คลอรอก และยาฆ่าเชื้อต่างๆ
4.พืชผักพวกหอม กระเทียม เก็บเกี่ยวเมื่อโคนต้น (Core) แห้งหรือปลายใบโค้งงอลง โดยทำการขุดขึ้นมาทั้งต้นแล้วทิ้งไว้ในแปลง 1 - 2 สัปดาห์ เพื่อให้ต้นและหัวแห้ง ก่อนที่จะทำการเก็บรักษา
5.พืชผักกินได้ เช่น บร็อคโคลี และกะหล่ำดอก เก็บเกี่ยวเมื่อดอกอัดแน่นและขยายใหญ่เต็มที่โดยตัดที่โคนต้นให้มีใบติดมาด้วย 3 - 4 ใบ เพื่อใช้ห่อดอก ป้องกันการถูกกระทบกระแทกในขณะขนส่ง การใช้แผ่นพลาสติกห่อห ุ ้มหัว แต่ละหัวจะลดปัญหาการสูญเสียได้
6.พืชผักกินผลและเมล็ด เช่น ข้าวโพดหวาน ถั่วต่างๆ แตงต่างๆ ควรเก็บในตอนเช้า จะทำให้เปอร์เซนต์น้ำตาลสูงกว่าการเก็บในตอนบ่าย และเก็บโดยใช้มีดตัดโดยระมัดระวัง อย่าให้ผลผลิตตกลงพื้นดินในระหว่างเก็บเกี่ยว การเก็บเกี่ยวคุณภาพสู'
การเก็บเกี่ยวให้ได้คุณภาพสูง ควรพิจารณาถึงการเก็บเกี่ยวดังนี้ 1.การเก็บเกี่ยวพืชผักโดยมีจุดประสงค์บริโภคสด อาจจะเก็บในระยะเมื่อยังอ่อนอยู่ เช่น บวบและแตงกวา หรือเก็บเกี่ยวเมื่อโตเต็มที่ เช่น ฟักทอง และ กะหลำต่างๆหรือเมื่อสุก เช่น แตงโม แตงไทย แตงเทศ มะเขือเทศ
2.การเก็บเกี่ยวพืชผักเพื่อนำมาแปรรูป พืชผักที่นำมาทำการแปรรูป ควรเก็บเกี่ยวเมื่อพืชผักมีคุณลักษณะดังต่อไปนี้ คือ
มีปริมาณเยื่อใยหรือกากน้อย ปริมาณกากจะเป็นปฏิภาคโดยตรงกับอายุของพืชผัก ผักที่ยังอ่อนอยู่จะมีกากน้อยกว่าเมื่อแก่ ปริมาณกากที่เหมาะจะเก็บเกี่ยวได้ ควรมีประมาณร้อยละ 0.5 - 1.0
ปริมาณของความชื้น ความชื้นในพืชผักควรมีปริมาณร้อยละ 80 - 90 ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของพืชผัก และชนิดผลิตภัณฑ์ที่จะทำ
ควรมีปริมาณแป้งน้อย แต่มีปริมาณน้ำตาลสูง
ดัชนีในการเก็บเกี่ยว
ดัชนีในการเก็บเกี่ยว การเก็บเกี่ยวพืชผักเร็วเกินไป จะทำให้ได้คุณภาพไม่ดี แต่ถ้าชะลอการเก็บเกี่ยวจะทำให้ผลผลิตเน่าเสีย พืชผักหลายชนิดที่สังเกตอายุการเก็บเกี่ยวที่เหมาะสมยาก ดังนั้นจึงมีการหาวิธีการเพื่อนำมาใช้เป็นเครื่องชี้บอกอายุการเก็บเกี่ยวที่เหมาะสม ซึ่งเรียกว่า ดัชนีในการเก็บเกี่ยว (harvest indices) ซึ่งอาจพิจารณาได้จาก
การสังเกตด้วยสายตา แบ่งได้ตามลักษณะ คือ
การเปลี่ยนแปลงของสี ตัวอย่างเช่น มะเขือเทศเมื่ออายุเก็บเกี่ยวที่เหมาะสม จะเริ่มเปลี่ยนสีจากสีเขียวเป็นสีเขียวอมแดง มากน้อยขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ด้วย
ขนาด พิจารณาดูขนาดของใบหรือผล ว่าได้ขนาดตามต้องการ เช่น แตงกวาเก็บเกี่ยวเมื่อหนามยังไม่หลุด ผักกินใบเก็บเกี่ยวเมื่อใบอวบใหญ่ ผักกินดอก
เก็บเกี่ยวเมื่อดอกยังไม่บานหรือดอกอัดเบียดกันแน่น เช่น กะหล่ำดอก และบรอคโคลี่
การใช้วิธีการทางกายภาพเป็นการพิจารณาดูการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของพืชผัก เช่น ผักกินใบต่างๆใบจะอวบมีนวล ผักกินผล เช่น แตงเทศ จะเกิดรอยแตกที่ขั้วผล
การใช้ประสาทสัมผัส ได้แก่ การชิมรส การฟังเสียง การดมกลิ่นและอื่นๆ ซึ่งนอกเหนือจากการสังเกตด้วยสายตา
การชิมรส ใช้กับพืชผักกินผล กินต้นหรือกินราก เช่น แตงกวา แตงโม ข้าวโพดหวาน ผักกินหัว
การฟังเสียง ใช้กับแตงโมเป็นส่วนใหญ่
การดมกลิ่น ใช้กับพืชกินผล เช่น แตงไทย แตงเทศ
การประมาณอายุหลังจากวันปลูกถึงวันเก็บเกี่ยว ภายใต้การเจริญเติบโตที่เหมาะสม โดยอายุเก็บเกี่ยวขึ้นอยู่กับชนิดพันธุ์ว่าเป็นพันธุ์หนักหรือพันธุ์เบา และต้องพิจารณาถึง สภาพภูมิอากาศและฤดูกาลด้วย โดยการปลูกพืชผักภายใต้สภาพอุณหภูมิต่ำ เช่น ในช่วงฤดูหนาว อายุเก็บเกี่ยวมักจะยึดนานออกไปมากน้อยขึ้นอยู่กับชนิดของพืชผัก แต่เมื่อปลูกในสภาพปรกติที่เหมาะสม จะสามารถประมาณอายุของพืชผัก แต่ละชนิดได้
การประมาณอายุจากวันที่ดอกได้รับการผสม เกสรจนถึงวันแก่ เก็บเกี่ยว ซึ่งสามารถประมาณอายุเก็บเกี่ยวพืชผักชนิดต่างๆ ได้